วันที่ 1
พร้อมกันที่จุดนัดพบพร้อมออกเดินทางจาก กรุงเทพฯ
(พร้อมบริการอาหารว่างตอนเช้าบนรถ) แวะชมทุ่งทานตะวัน(ตามฤดู) ระหว่างการเดินทางเชิญท่านพักผ่อนตามอัธยาศัย กับบรรยากาศสบาย ๆ
ของทัศนียภาพของสองข้างทาง
ถึงเพชรบูรณ์ รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรมชั้น 1 ของจังหวัด
นำท่านชมอดีตดินแดนแห่งสมรภูมิรบ ขึ้นเยี่ยมชมพระตำหนักเขาค้อ
แวะชมและร่วมบันทึกภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึก ณ ฐานยิงสนับสนุนอิทธิ
เข้าชมสู่อนุสรณ์ผู้เสียสละ สัญลักษณ์แห่งชัยชนะ ของวีรชนผู้กล้า
เดินทางสู่ ภูทับเบิก ถึงที่พักบนยอดภูทับเบิก จัดเกิบสัมภาระ
รับประทานอาหารเย็นแบบปิคนิค ทำกิจกรรมส่วนตัว
ชมการแสดงของเด็กเขาชาวม้ง และการเล่าประวัติความเป็นมาของการต่อสู้ ระหว่างชาวม้งปฏิวัติ กับ ภาครัฐ หน้ารอบกองไฟ พักผ่อนตามอัธยาศัย
วันที่ 2
รับอรุณยามเช้า กับบรรยากาศเมืองหนาวเย็นสะท้านทรวง พร้อมชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม
รับประทานอาหารเช้า
ออกเดินทางร่วมทำบุญพร้อมชมทิวทัศน์ อันสวยงามบนวัดที่สูงที่สุด พร้อมชมต้นซากุระเมืองไทย
ออกเดินทางกลับ แวะชมและถ่ายรูป แปลงกระหล่ำปลีที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ จุดชมวิวอื่นอีก 3 จุด
รับประทานอาหารกลางวัน ขนมจีน 7 สี
ออกเดินทางกลับ แวะ ซื้อของฝาก
แวะผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการนั่งรถ ด้วยการแช่น้ำแร่จากน้ำพุร้อน กับพุเตยสปา หรือเที่ยวชมอุทยานถ้ำใหญ่น้ำหนาว
รับประทานอาหารเย็น
กลับถึงกรุงเทพโดยสวัสดิภาพ
ข้อมูลพื้นที่
ชื่อ “ภูทับเบิก” อาจยังใหม่ในความรับรู้ ของนักท่องเที่ยวที่หลงใหลความสูงบนยอดดอย ด้วยว่าไม่ใช่สถานที่ฮิตติดปาก อย่างภูกระดึง ภูเรือ หรืออีกสารพัดภูที่โด่งดังและขึ้นชื่อเรื่องความงามกันมาก่อน แต่อีกไม่นานที่นี่จะเป็น ทางเลือกหนึ่ง สำหรับคนที่อยากสัมผัส ลมหนาวและความสูง ที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และยังได้ “ชมดาว” จากแสงไฟระยิบระยับของ อ.หล่มสักและหล่มเก่า ในยามค่ำคืน โดยไม่ต้องออกแรงปีนเขามากนัก
“ทับเบิก” หมู่บ้านแห่งตำบลวังบาล อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ เป็นแหล่งอาศัย ของ ชาวเขาเผ่าม้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 หรือเกือบ 80 ปีมาแล้ว ผ่านร้อนผ่านหนาว กับ เหตุการณ์บ้านเมือง มาก็หลายยุค โดยเฉพาะช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีการปราบปรามผู้ฝักใฝ่ ลัทธิคอมมิวนิสต์ จาก จ.น่าน ทำให้มีชาวม้งอพยพมา หมู่บ้านนี้มากขึ้น จนในช่วงปี 2510 ซึ่งมีความขัดแย้ง ในความคิดทางการเมือง ระหว่าง ฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับฝ่ายรัฐขณะนั้น ชาวเขาถูกชักชวนให้เป็น แนวร่วมต่อต้านรัฐบาล ส่งผล ให้ช่วง 20 ปีก่อนหน้านี้ไม่ค่อยมีใครอยากเดินทางขึ้น มากันมากนัก ทั้งด้วยเหตุผลว่าถนนลาดชันและความไม่มั่นใจต่อสวัสดิภาพของคนเดินทาง
จวบจน ถึงปัจจุบัน ยุคสมัยเปลี่ยนไป เพชรบูรณ์มีผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ นายดิเรก ถึงฝั่ง “ผู้ว่าฯซีอีโอ” จึงมีดำริเปิดตัว “ทับเบิก” ต่อคนชอบเที่ยว เชิญชวนให้ขึ้นมาสัมผัสกับ ความสูง 1,768 เมตรจากระดับน้ำทะเล นับเป็นความสูงที่มากกว่าภูกระดึงและภูเรือ เส้นทางรถยนต์สามารถขึ้นลงกันได้ตลอดปี
แม้จะใช ้เส้นทางขึ้นลงได้ตลอด แต่ก็มีข้อที่ต้องระวัง เพราะเส้นทางหลวงสาย 2331 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้าย 40 กม.นั้น คดโค้งและสูงชัน บางช่วงของผิวถนน ยังมอง เห็นริ้วรอยความเสียหายจาก น้ำท่วมใหญ่หมู่บ้านน้ำก้อ เมื่อหลายปีก่อน แต่ทางการรับปากว่าต้องซ่อมแซมแน่
อากาศบน หมู่บ้าน มีแค่หน้าฝนกับ หน้าหนาว เป็นภูมิอากาศที่เอื้อต่อ การเพาะปลูกพืชผัก ชาวเขาที่นี่มักจะ ปลูกกะหล่ำปลี กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เรียกว่าเหมาดอยปลูกกัน อย่างนั้นเลยทีเดียว ใครอยากถ่ายรูปกับหุบเขากะหล่ำปลี ต้องหยุดรถตรงทางก่อนเข้าหมู่บ้านเล็กน้อย จะมีป้ายบอกไว้ว่า “กะหล่ำปลีทับเบิกปลอดภัยแหล่งใหญ่ที่สุดในโลก”
สภาพความ เป็นอยู่ทั่วไปของชาวม้งหมู่บ้านนี้ จัดว่าอยู่ในขั้น “พัฒนา” แล้ว แทบทุกหลังคาเรือนมีรถกระบะปิกอัพไว้เป็นพาหนะหลักสำหรับขนผลผลิตลงสู่ตลาด บางรายไม่ต้องขนลงไปเองก็มีพ่อค้าขึ้นมาเหมาซื้อกันถึงที่ คนพื้นราบที่อยากเห็นชาวเขา แต่งชุดประจำเผ่าทำงานต่างๆ ในชีวิตประจำวันก็ยังพอมีให้เห็นบ้าง แต่ไม่ใช่ชุดเต็มยศอย่างที่แต่งโชว์ในเวลางาน หนุ่มสาวบางรายยังใส่เสื้อผ้า ที่มีลวดลายปักพอให้เห็นประปราย
นอกจาก กะหล่ำปลีกับชาวเขาเผ่าม้งแล้ว ที่ทับเบิกยังมีวัดป่าภูทับเบิก ตั้งอยู่ห่างจากตัวหมู่บ้านประมาณ 1 กม.เศษ ไปตามทางขึ้นเขา ที่บริเวณวัดเป็นจุดรับน้ำฟ้ากลางหาว เพื่อนำไปร่วม ในพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เมื่อ 5 ธ.ค. 2542 บริเวณรอบวัดยังมีต้น พญาเสือโคร่ง ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง จะออกดอกสวยงามในราวเดือนกุมภาพันธ์
หากจะ ขึ้นไปเที่ยวภูทับเบิกในช่วงหน้าหนาวนี้ อาจจัดเส้นทางให้แวะเที่ยวเพชรบูรณ์ก่อนที่จะ ขึ้นไปค้างคืนรับลมหนาวบนยอดดอย พอเช้าวันรุ่งขึ้นก็เดินทางลงไปยังอุทยานแห่งชาติ ภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก ก็ได้ เส้นทางลงอีกด้านหนึ่งจะไม่ชันเท่ากับทางขึ้น
เรื่องที่ พักกับอาหารสำหรับผู้สนใจ ไปเยือนบนนั้น ทางสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว จังหวัดเพชรบูรณ์ แจ้งว่า มีที่พักแบบ กางเต็นท์อยู่ 3 จุด คือจุดแรก บนยอด สูงสุด ความสูง 1,768 เมตร มองเห็นวิวหมู่บ้าน ดอยน้ำเพียงดิน ด้านล่าง จุดที่ 2 อยู่ที่ศูนย์พัฒนาและ สงเคราะห์ชาวเขาฯ จุดที่ 3 อยู่ที่จุดชมวิวดาวบนดิน เลยศูนย์สงเคราะห์ฯ ไปเล็กน้อย คนที่ไม่ถนัดนอนเต็นท์หาก จะนอนในอาคาร มีแห่งเดียวคือ ที่ศูนย์พัฒนา และ สงเคราะห์ชาวเขาฯ มีเรือนพักอยู่ 3 หลัง หากนอนห้องละ 6 คน จะรับได้ประมาณ 50 คน
จุดรองรับน้ำฟ้ากลางหาว
คนต่าง ถิ่นอาจไม่ทราบว่าแท่งสี่เหลี่ยมขนาดสูงไม่ถึง 1 เมตร ตั้งอยู่กลางแจ้ง มีกรวย รับน้ำอยู่ด้านบน ภายในวัดป่าภูทับเบิก ต.วังบาล อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ นั้น เขาเอาไว้ ทำอะไร คำตอบนั้นมีแน่และต้องมาพร้อมคำอธิบายอีกชุดหนึ่งเพื่อความกระจ่างยิ่งขึ้น
สิ่งนั้น มีชื่อว่า “จุดรองรับน้ำฟ้ากลาง หาว” เอาไว้คอยรองรับหมอกและ น้ำค้างที่ กลั่นตัวเป็นน้ำ แล้วไปประกอบพิธี ทำน้ำมนต์ ครั้งแรกสุดได้เริ่มใช้ ในการนำไป รวมเป็นน้ำเพชรน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ใน พระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ 5 ธ.ค. 2542
ข้อมูล จากนายเสวี เพชระบูรณิน นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า จากการศึกษาแผนที่และ ลักษณะทางภูมิอากาศแล้วพบว่า บริเวณพื้นที่ อ.หล่มเก่า น้ำหนาว เขาค้อ และหมู่บ้านทับเบิก เป็นพื้นที่ ที่มีอากาศเย็นอันเนื่องมาจากอิทธิพลของการได้รับ ร่องลมเย็นจากเทือกเขาหิมาลัย จึงมีหมอก มีน้ำค้างมากและเมื่ออยู่ในจุดสูงสุดของจังหวัด จึงได้มีการกำหนดให้เป็นจุดที่รองรับน้ำจากฟ้าไปประกอบพิธีมงคลต่อไป ยิ่งถ้าได้ยืนอยู่บริเวณริมผาดังกล่าวในวันที่อากาศหนาวแล้วจะเห็นทะเลหมอกสวยงามมาก. |