๑ วัดสุวรรณดาราราม
"วัดแห่งพระชนกนาถ ทวยราษฏร์พร้อมภักดี
บำเพ็ญบุญบารมี ถวายองค์จักรี พระจอมไทย "
เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิตราชวรวิหาร เดิมชื่อ วัดทอง สมเด็จพระปฏมบรมชนกแห่ง
ราชวงศ์จักรีทรงสร้างขึ้นครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่ถูเผาทำลายภายหลังกรเสียกรุงในปี
๒๓๑๐ รัชกาลที่ ๑ จึงโปรดให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งพระอารามโปรดให้ช่างเขียนภาพเทพชุม
นุม เขาพระสุเมรุ ไว้ที่ผนังพระอุโบสถตอนบน ส่วนตอนล่างเขียนเรืองพระเวสสันดรชาดก
เตมีย์ชาดก สุวรรสามชาดก วัดสุวรรณดารารามได้รับการบูรณะปฏสังขรณ์และสร้างศาสน
สถานขึ้นในทุกรัชสมัยของราชวงศ์จักรี โดยเฉพาะสมัยรัชการลที่ ๗ โปรดให้พระยาอนุ
ศาสน์จิตกร เขียนจิตกรรมภาพพระราชพงศาวดารสมัยสมมเด็จพระนเรศวรไว้บนรอบผนัง
ของพระวิหาร ฐานพระอุโบสถของวัดสุดวรรณดารารามมีลักษระเป็นโค้งสำเภาเรือ หรือตก
ท้องช้าง เป็นความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรม สิ่งศักดิ์สิทธิ์และการนมัสการที่สำคัญ คือ หลวง
พ่อทอง พระประธานในอุโบสถที่ให้กลิ่นอายของความศักดิ์สิทธิ์เมือเข้ามาเที่ยวชม นอกจาก
นี้ยังมีศาลเจ้าแม่ตะเคียนทองที่มีความเชื่อถือในเรืองของโชคลาภละการเสี่ยงทาย
มหามงคล
เมตตามหานิยม บูชาพระรัตนตรัย |
๒ วัดพุทธไธสวรรค์
"กุฏิพระพุทธโฆษาจารย์
พระปรางค์งามสง่า ศรัทธาท้าวอู่ทอง สร้างขึ้นก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๑๘๗๖ ตรงบริเวณที่ประทับของพระเจ้าอู่ทอง หรือที่เรียกกันว่า ฑเวียงเหล็ก" สิ่งศักดิ์สิทธิ์และมหามงคล คือองค์พระประธานของวัดที่ชาวบ้านมักจะเรียกกันว่า "หลวงพ่อดำ" นอกจากนี้ยังมีกุฏิสมัยอยุธยาตอนปลายของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สังฆราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา มีการเขียนฝาผนังภายในฝีมือช่างหลวงอยุธยา เล่าเรื่องราวการเดินทางไปลังกาทวีปของพระพุทโฆษาจารย์ และเรื่องในไตรภูมิ ปรางค์ใหญ่สีขาวของวัดนี้เป็นหนึ่งในพระมหาธาตุเจดีย์สำคัญของกรุงศรีอยุธยา เล่ากันตามความเชื่อในสมัยก่อนว่า ผู้เดินทางผ่านวัดพุทไธศวรรย์จะกราบไหว้ขอพรให้ปลอดภัยในการเดินทาง และหากลูกเจ็บไข็ได้ป่าวยก็มักจะนำลูกของตนมาถวายเป็นลูกของพระเจ้าอู่ทอง และแก้บนด้วยการบวชถวายเมื่อครบอายะ
มหามงคล
เมตตามหานิยม อยู่ยงคลกระพัน รักษาโรคภัย หน้าที่การงาน การสอบเข้าทหารตำรวจและราชการ |
๓ วัดพิชัยสงคราม
"น้อมย้อนรำลึก การสู้ศึกศัตรู แห่งพระเจ้ากรุงธนบุรี"
นอกจากนี้ยังมีกุฏิสมัยอยุธยาตอนปลายของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สังฆราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับสถานีรถไฟ เป็นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำป่าสัก สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๙๐๐ เป็นวัดโบราณมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มี
นามปรากฏในราชพงศาวดารว่า "วัดพิชัย" บางแห่งเขียนว่า "วัดพิไชย" ได้เปลี่ยนนามใหม่เป็น "
วัดพิชัยสงคราม" ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ประมาณรัชกาลที่ ๔ หรือ ๕ ในคราวที่ได้มีการบูรณะปฏิสังบคณ์เนื่องจากเป็น
วัดร้างในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา ที่ได้นามอย่างนั้นถือเอาเหตุผลที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ตีฝ่าวงล้อมข้าศึก
ออกจากวัดพิชัยมาได้ นับว่าได้รับชัยชนะในการทำศึกครั้งนั้น ต่อมาเมื่อได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดขึ้น จึงขนานนามวัดเสีย
ใหม่เป็นการเทิดพระเกียรติและอนุสรห์แห่งสถานที่วันนี้ วัดพิชัยสงครามนับเข้าเป็นวัดชนิดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
แล้วนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๑๙๒๐
มหามงคล
การบูชาพระรัตนตรัย
|
๔ วัดท่าการ้อง
"สักการะหลวงพ่อยิ้มหรือพระพุทธรัตนมงคล
ชมศิลปะโบราณ ลวดลายวิจิตร"
ที่ตั้งวัดอยู่ใกล้กับวัดธรรมาราม เป็นที่ราบติดแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะเมือง อาคารเสนาสนะต่างๆ มีพระอุโบสถกว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๒๒ เมตร อายุ ๓๗๒ บูรณะเมื่อ ปี
๒๕๐๘ โครงสร้างก่ออิฐถือปูน หน้าบันและบายเครื่องบนเป็นไม้จำหลัก ซุ้มประตูหน้าต่างประ
ดับลายปูนปั้น บานประตูเขียนลวดลายรถน้ำรูปเสี้ยวกางประทับยืนบนหลังสิงห์โตจีน ช่องลมระ
เบียงด้านหน้าอุโปสถประดับเครื่องเคลือบเขียวมีกำแพงแก้วล้อมรอบอุโบสถ รูปแบบสถาปัตย
กรรมศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น ศาลาการเปรียญกล้างเป็นอาคารทรงไทยไม้สัก นอกจากนี้ยัง
มีกุฏิสงฆ์หอระฆมังทรง ๘ เหลี่ยม ๒ ชั้น ศาลาท่าน้ำ แจดีย์รายหน้าพระอุโบสถมีพระประฐาน
สมัยอยุธยาที่เก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์มีประชาชนเคารพนับถือมากคือ หลวงพ่อรัตนมงคล หรือ
(หลวงพ่อยิ้ม) วัดท่าการ้อง เป็นวัดโบราณมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นก่อนในปี พ.ศ. ใด (มาแล้วต้องมาอีก) ลิงค์ของวัด
มหามงคล
การบูชาพระรัตนตรัย ขอพรหลวงพ่อยิ้ม
|
๕ วัดกล้วย
"พระพุทธนิมิตพิชิตมาร งามตระหง่าน
เล่าขานทององค์ทรงเครื่อง ลือเลื่องพระทวาราวดี " วัดกล้วย เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ประมาณ พ.ษ.๒๒๐๐(ยุคของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ติดกับแม่น้ำป่าสัก นอก เกาะตัวเมืองอยุธยาไปทางทิศตะวันออกใกล้กับสะพานนเรศวร หรือห่างจากสถานีรถไฟไปประมาณ ครึ่งกิโล วัดกล้วยเป็นวัดที่มีความสำคัญมากในทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางการค้าขายทางน้ำ เป็นที่จอดเรือสินค้าของชาวภาคเหนือ เคยเป็ฯสามรบ เป็นที่ตั้งกองทหารของพระเจ้าตากสินมหาราช ภายในวัดมีพระประธานในอุโบสถเก่าเป็นหินสมัยกรุงศรีอยุธยาสร้างด้วยทองเหลือง ภายในบรรจุด้วยวัตถุมงคล เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ ได้เกิดฟ้าผ่าบริเวณหอสวดมนต์ พระสาริกธาตุเสด็จมา พ.ศ.๒๕๓๑ อัธิธาตุของพระครูอินทวุฒิกร (หลวงปู่ต่วน อินทปัญโญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดกล้วยเป็ฯพระธาตุ มีพระพุทธรูปปางห้ามญาติยืนอยู่หน้าอุโบสถใช้สำหรับต่อดวงชะตา ต่ออายุ มีพระสีวลี สำหรับโชคลาภ ยืนอยู่ที่ต้นโพธิ์ พระประจำวัดเกิด อยู่รอบโบสถ์ มีแม่น้ำป่าสักสำหรับปล่อยปลาให้อาหารปลา ชื่อวัดกล้วยนั้นเป็นมงคลเป็นของสำหรับอธิษธานจิต
มหามงคล
ต่อดวงชะตา ต่ออายุ โชคภาพ เจริญรุ่งเรือง |
๖ วิหารพระมงคลบพิตร
"กราบองค์พระมงคลบพิตร ตั้จิตศรัทธา
สักการะบูชา อยุธยาพระศรีนคร" วิหารพระมคลบพิตร ภายในประดิษฐานพระมงคลบพิตรหรือ หลวงพ่อมงคลบพิตรพระคู่บ้านคู่
เมืองของอยุธยา เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นบุสำริด ปางมารวิชัยขนาดใหญ่ลงรักิดทองก่ออิฐเป็น
แกนหน้าตักกว้าง ๔ วาเศษ สร้างขึ้นในสมัยพระไชยราชาธิราช เดิมอยู่ทางทิศตะวันออกนอก
พระราชวังหลวง ตรงบริเวณที่เคยเป็นวัดชีเชียง พระเจ้าทรงธรรมโปรดให้ชะลอมาไว้ทางด้าน
ตะวันตก สถานที่ซึ่งประดิษฐานอยู่ในปัจจุบัน และโปรดให้สร้างมณฑปสวมไว้ ต่อมาในแผ่น
ดินสมเด็จพระเจ้าเสือเกิดฟ้าผ่ายอดมณฑปพระมงคลบพิตรเศียรพระพุทธรูปหักลง จึงทรง
พระกรุณาโปรดฯให้รื้อมณฑปสร้างใหม่แปลงเป็นพระวิหารแทนจนพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง วิหารพระมงคลบพิตรถูกเผาทำลายในคราวเสียกรุง เมื่อ
ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระยาดบราณราชธานินทร์สมุทเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า
ได้ทำการบูรณะต่อพระกรขวาและพระเมาฬี ปัจจุบันองค์พระมงคลบพิตรได้รับการบูรณะปิด
ทองสวยงามเป็นสง่าโดยมูลนิธิวิหารมงคล จึงนับได้ว่าพระมงคลบพิตร เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และ
สิริมงคลที่สำคัญของอยุธยา
มหามงคล
เมตตามหานิยม สิริมงคลทุกด้าน |
๗ วัดธรรมิกราช
"สิงห์ปั้นปูนตระการตา การาบบูชาพระพุทธคุณ
เกื้อหนุนนำศรัทธา พระอู่ทองสวยสง่าเป็นมงคล" ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระราชวังหลวง มีเพียงตำนานที่กล่าวถึงว่าเดิมชื่อมุขราช
สร้างขึ้นในระยะก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา โดยพระยาธรรมิกราชพระราชโอรสพระเจ้าสาย
น้ำผึ้ง วัดนี้มีความโดดเด่นตรงทางด้านสถาปัตยกรรมสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะพระ
เจดีย์ประธานทรงลังกาที่มีรูปพญานาค ๗ เศรียรแผ่พังพาน สิงห์ปูนปั้นแต่ละตัวมีลวดลายแตก
ต่างกัน โดยเฉพาะลายตรงแผงอกและตรงส่วนหัว ภายในวัดยังมีวิหารขนาดใหญ่ เคยเป็นที่
ประดิษฐานของพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ แต่ถูกเผาทำลายเหลือเพียงพระเศียร ปัจจุบัน
เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่างชาติเจ้าสามพระยา พระพุทธรูปสำริดองค์นี้ถือเป็นเอก
ลักษณ์ของศิลปะอู่ทองคือพระพักตร์เป็นสี่เหลี่ยมและเคร่งเครียด พระพักตร์ถมึงทึง จนชาว
บ้านเรียกกันทั่วไปว่า "หลวงพ่อแก่" วัดธรรมิกราชมีวิหารหลังเล็กๆ ที่ประ
ดิษฐานพระพุทะไสยาสน์องค์ใหญ่ ในลักษณะนอนขวางเกือบเต็มวิหาร เล่ากันว่าสร้างโดย
พระอัครมเหสีในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากพระนางทรงบน
บานไว้ว่า ถ้าพระราชโอรถ ของพระนางหายจากอาการประชวนหนัก ก็จะทรงสร้างพระ
พุทธไสยสน์ถวายเป็นพุทธบูชา
มหามงคล
เมตตามหานิยม บูชาพระรัตนตรัย คุ้มครองรักษาโรคภัยอันตราย |
๘ วัดตึก
"ขอพรอันเป็นมงคล แห่งพระเจ้าเสือ" วัดตึกเป็นวัดราษฏร์ตั้งอยู่ริมถนนอู่ทอง ห่างจากอนุสรณ์สถานปรีดีพนมยงค์ ประมาณ ๒๐๐ เมตร เดิมเป็นพระตำหนักของของสมเด็จพระพุทธเเจ้าเสือ(ยังมีปรากฏอยู่) เมือเสด็จไปประทับ ณ วังจันทร์เกษม (วังหน้า) จึงสถาปนาตำหนักเดิมเป็ฯพุทธาวาส ประทานนามว่า "วัดตึก" พระตำหนักเดิมเป็นศาลาการเปรียญ และมีพระบรมรูปพระเจ้าเสือประดิษฐานอยู่ สำหรับวัดตึกนั้น เข้าใจกันว่าพระองค์ทรงพระราชอุทิศเมือครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล นามวัดตึกคงหมายถึง ตำหนักที่ก่อเป็นตึกที่ประทับนั่นเอง หลัง พ.ศ.๒๓๑๐ วัดตึกคงเป็ฯวัดร้าง จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) ได้มีผู้มีจิตศรัทธาร่าวมปฏิสังขรณ์ ได้เล่ากันว่า พระอาจารย์สาริกาลิ้นทองอาจารย์ของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ เดิมจำพรรษาที่วัดศาลาปูน ก็ได้มาจำพรรษาที่วัดตึก
มหามงคล
สักการะขอพรพระพุทธเจ้าเสือ |
๙วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร
"สถาปัตยกรรมเลื่องชื่อ ฝีมือวิจิตร
เนรมิตรให้คงอยู่ คู่วัดเสนา"
ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระราชวังหลวง มีเพียงตำนานที่กล่าวถึงว่าเดิมชื่อมุขราช
เดิมชื่อวัดเสื่อ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ได้รับการปฏิสังขรณ์โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ัชกาลที่ ๔ โดยปฏิสังขรณ์
ทั้งวัดแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๖ และทรงได้ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัด
เสนาสนาราม" เป็นวัดธรรมยุตินิกาย ศาสนสถานที่สำคัญได้แก่ พระอุโบสถ ที่เป็น
สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา หน้าบันด้านหน้าและด้านหลังเป็นไม้แะสลักปิดทอง ประดับกระจก
รูปช้างเอราวัณ ขนาบด้วยฉัตร เหนือเศียรช้างเอราวัณ มีพระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ มีพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ และพระวิหารพระอินทร์
แปลงซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัดแล้วภายในพระวิหารยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพจิตร
กรรมสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งยังคงความงดงามจนถึงปัจจุบัน
มหามงคล
บูชาพระรัตนตรัย
|